Supervisor as a Counselor
หัวหน้าในฐานะผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ (Supervisor as a Counselor)
หน้าที่หลักของหัวหน้า ในฐานะผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำ มีสองส่วนกว้าง ๆ คือ
- หน้าที่ในการช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ให้สามารถทำงานลุล่วงไปด้วยดีหรือตอบสนองต่อเป้าหมายและนโยบายขององค์การ โดยให้มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
- หน้าที่ในการสนับสนุน เป็นกำลังใจ เข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของผู้ใต้บังคับบัญชา โดยกระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำ หรือ Counseling นั่นเอง
หัวหน้ากับการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่/พนักงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา
หัวหน้าทำหน้าที่สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ เริ่มตั้งแต่การเข้ามาสมัครงาน ผ่านทางการสัมภาษณ์ (Interview) หลังจากนั้นการสัมภาษณ์ยังเกิดขึ้นเป็นระยะต่อเนื่อง เช่นหลังการฝึกงาน การประเมินผลงาน หรือกรณีที่พนักงานมีปัญหา ต้องการคำปรึกษาแนะนำช่วยเหลือ(Counseling) ตลอดจนการสัมภาษณ์เมื่อเกิดการลาออกหรือต้องถูกไล่ออกจากงาน หรือเมื่อพนักงานต้องการร้องเรียน เป็นต้น ลักษณะของการสัมภาษณ์มักจะปนกันระหว่างการพูดคุยสื่อสารทางตรงและการพูดคุยหรือสื่อสารทางอ้อม
การสัมภาษณ์หรือ Interview มีลักษณะและขั้นตอนการติดต่อสื่อสารทางตรง มีการเตรียมการ ผู้ถูกสัมภาษณ์รู้ล่วงหน้าว่าจะพูดคุยกันด้วยเรื่องอะไร มีความจริงแค่ไหน มีเป้าหมายวัตถุประสงค์และขอบข่ายการสอบถามอย่างไร ผู้สัมภาษณ์พยายามหาข้อมูลให้ได้มากที่สุดจากผู้ถูกสัมภาษณ์ เช่นการสัมภาษณ์เพื่อเข้าทำงาน
ขณะเดียวกัน ผู้ถูกสัมภาษณ์ มีการเตรียมตัวล่วงหน้า ว่าจะถูกถามเรื่องใดบ้าง
การให้คำปรึกษาแนะนำ (Counseling) มีลักษณะเป็นการสัมภาษณ์ทางอ้อม เพื่อนำไปสู่การแนะนำ การชี้แนะ ซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชา อาจเป็นผู้ร้องขอความช่วยเหลือ ขอคำปรึกษาแนะนำ หรือหัวหน้าเชิญผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้เกี่ยวข้องมาสอบถามเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งหัวหน้าต้องการรู้และเข้าใจถึงอารมณ์ความรู้สึกและความต้องการจริง ๆ ของเจ้าหน้าที่นั้น ๆ เช่น กรณีที่มีการร้องเรียน ยื่นคำประท้วง หรือพนักงานสมัครใจที่จะลาออก กระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำหรือ Counseling เป็นกระบวนที่ช่วยให้เกิดการเรียงลำดับทางความคิด เพิ่มเติมข้อมูลจากที่ขาดหายไปหรือไม่รู้ ให้ความสำคัญเรื่องอารมณ์และความรู้สึก เป็นการเปิดโอกาสให้มีการติดต่อสื่อสารสองทาง เป็นขั้นตอนที่นำไปสู่การตัดสินใจ และสุดท้ายก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และทัศนคติในระยะยาว
หัวหน้าในฐานะ Counselor จะเปิดโอกาสให้ผู้พูด พูดอย่างที่เขาต้องการแสดงออกทั้งความรู้สึกและทัศนคติ ซึ่งการควบคุมสถานการณ์และอารมณ์ในภาวะเช่นนี้ ยากกว่าการสัมภาษณ์ทางตรง หัวหน้าหรือ Counselor ต้องมีความตั้งใจมากกว่า มีสมาธิในการฟัง สามารถเข้าใจและรับข้อมูลที่ส่งมาทั้งทางตรง ทางอ้อม ซ่อนเร้นและที่ไม่ได้กล่าวถึง หัวหน้าต้องระมัดระวังไม่แสดงความคิดเห็นส่วนตัว ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกให้ได้ ไม่แสดงความเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่เป็นตัวของตัวเองเต็มที่ มีอิสระในการวิพากษ์วิจารณ์ ตำหนิ แสดงความรู้สึกในทางลบมาให้หมด ซึ่งเป็นกระบวนการ “บำบัดจิต” วิธีหนึ่ง เพราะเมื่อได้พูดในสิ่งที่ไม่ดีออกมาหมดแล้ว ผู้พูดจะเริ่มมองเห็นสิ่งดีงามเพิ่มมากขึ้นจนในที่สุดสามารถจะรู้ถึงสาเหตุที่มาของปัญหาได้ ในระหว่างการรับฟังผู้พูด พูดถึงอารมณ์ความรู้สึกความในใจ หัวหน้าต้องตรวจสอบข้อมูลด้วยการพูดทวนเนื้อหา ตอบรับอารมณ์และความรู้สึกที่ส่งมา สะท้อนความคิดเห็นพฤติกรรมของผู้พูด ตลอดจนให้คำถามเปิดปิดเพื่อช่วยให้ผู้พูดสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ตนเอง ทำให้ผู้พูดเกิดการเรียงลำดับทางความคิด ผ่อนคลายอารมณ์และความรู้สึก และตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น อันจะนำไปสู่การตัดสินใจเพื่อการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว ไม่ว่าอะไรที่จะเกิดขึ้นกับเขาต่อไป ทำให้ผู้พูดตระหนักถึงความรับผิดชอบของตนเองในการตัดสินใจนั้น ๆ
อรอนงค์ อินทรจิตร
นรินทร์ กรินชัย
วันที่ 18 กรกฎาคม 2548
หัวหน้าในฐานะผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ (Supervisor as a Counselor)
หน้าที่หลักของหัวหน้า ในฐานะผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำ มีสองส่วนกว้าง ๆ คือ
- หน้าที่ในการช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ให้สามารถทำงานลุล่วงไปด้วยดีหรือตอบสนองต่อเป้าหมายและนโยบายขององค์การ โดยให้มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
- หน้าที่ในการสนับสนุน เป็นกำลังใจ เข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของผู้ใต้บังคับบัญชา โดยกระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำ หรือ Counseling นั่นเอง
หัวหน้ากับการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่/พนักงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา
หัวหน้าทำหน้าที่สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ เริ่มตั้งแต่การเข้ามาสมัครงาน ผ่านทางการสัมภาษณ์ (Interview) หลังจากนั้นการสัมภาษณ์ยังเกิดขึ้นเป็นระยะต่อเนื่อง เช่นหลังการฝึกงาน การประเมินผลงาน หรือกรณีที่พนักงานมีปัญหา ต้องการคำปรึกษาแนะนำช่วยเหลือ(Counseling) ตลอดจนการสัมภาษณ์เมื่อเกิดการลาออกหรือต้องถูกไล่ออกจากงาน หรือเมื่อพนักงานต้องการร้องเรียน เป็นต้น ลักษณะของการสัมภาษณ์มักจะปนกันระหว่างการพูดคุยสื่อสารทางตรงและการพูดคุยหรือสื่อสารทางอ้อม
การสัมภาษณ์หรือ Interview มีลักษณะและขั้นตอนการติดต่อสื่อสารทางตรง มีการเตรียมการ ผู้ถูกสัมภาษณ์รู้ล่วงหน้าว่าจะพูดคุยกันด้วยเรื่องอะไร มีความจริงแค่ไหน มีเป้าหมายวัตถุประสงค์และขอบข่ายการสอบถามอย่างไร ผู้สัมภาษณ์พยายามหาข้อมูลให้ได้มากที่สุดจากผู้ถูกสัมภาษณ์ เช่นการสัมภาษณ์เพื่อเข้าทำงาน
ขณะเดียวกัน ผู้ถูกสัมภาษณ์ มีการเตรียมตัวล่วงหน้า ว่าจะถูกถามเรื่องใดบ้าง
การให้คำปรึกษาแนะนำ (Counseling) มีลักษณะเป็นการสัมภาษณ์ทางอ้อม เพื่อนำไปสู่การแนะนำ การชี้แนะ ซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชา อาจเป็นผู้ร้องขอความช่วยเหลือ ขอคำปรึกษาแนะนำ หรือหัวหน้าเชิญผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้เกี่ยวข้องมาสอบถามเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งหัวหน้าต้องการรู้และเข้าใจถึงอารมณ์ความรู้สึกและความต้องการจริง ๆ ของเจ้าหน้าที่นั้น ๆ เช่น กรณีที่มีการร้องเรียน ยื่นคำประท้วง หรือพนักงานสมัครใจที่จะลาออก กระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำหรือ Counseling เป็นกระบวนที่ช่วยให้เกิดการเรียงลำดับทางความคิด เพิ่มเติมข้อมูลจากที่ขาดหายไปหรือไม่รู้ ให้ความสำคัญเรื่องอารมณ์และความรู้สึก เป็นการเปิดโอกาสให้มีการติดต่อสื่อสารสองทาง เป็นขั้นตอนที่นำไปสู่การตัดสินใจ และสุดท้ายก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และทัศนคติในระยะยาว
หัวหน้าในฐานะ Counselor จะเปิดโอกาสให้ผู้พูด พูดอย่างที่เขาต้องการแสดงออกทั้งความรู้สึกและทัศนคติ ซึ่งการควบคุมสถานการณ์และอารมณ์ในภาวะเช่นนี้ ยากกว่าการสัมภาษณ์ทางตรง หัวหน้าหรือ Counselor ต้องมีความตั้งใจมากกว่า มีสมาธิในการฟัง สามารถเข้าใจและรับข้อมูลที่ส่งมาทั้งทางตรง ทางอ้อม ซ่อนเร้นและที่ไม่ได้กล่าวถึง หัวหน้าต้องระมัดระวังไม่แสดงความคิดเห็นส่วนตัว ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกให้ได้ ไม่แสดงความเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่เป็นตัวของตัวเองเต็มที่ มีอิสระในการวิพากษ์วิจารณ์ ตำหนิ แสดงความรู้สึกในทางลบมาให้หมด ซึ่งเป็นกระบวนการ “บำบัดจิต” วิธีหนึ่ง เพราะเมื่อได้พูดในสิ่งที่ไม่ดีออกมาหมดแล้ว ผู้พูดจะเริ่มมองเห็นสิ่งดีงามเพิ่มมากขึ้นจนในที่สุดสามารถจะรู้ถึงสาเหตุที่มาของปัญหาได้ ในระหว่างการรับฟังผู้พูด พูดถึงอารมณ์ความรู้สึกความในใจ หัวหน้าต้องตรวจสอบข้อมูลด้วยการพูดทวนเนื้อหา ตอบรับอารมณ์และความรู้สึกที่ส่งมา สะท้อนความคิดเห็นพฤติกรรมของผู้พูด ตลอดจนให้คำถามเปิดปิดเพื่อช่วยให้ผู้พูดสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ตนเอง ทำให้ผู้พูดเกิดการเรียงลำดับทางความคิด ผ่อนคลายอารมณ์และความรู้สึก และตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น อันจะนำไปสู่การตัดสินใจเพื่อการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว ไม่ว่าอะไรที่จะเกิดขึ้นกับเขาต่อไป ทำให้ผู้พูดตระหนักถึงความรับผิดชอบของตนเองในการตัดสินใจนั้น ๆ
อรอนงค์ อินทรจิตร
นรินทร์ กรินชัย
วันที่ 18 กรกฎาคม 2548 |